วันเสาร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2557

สิทธิมนุษยชน

สิทธิมนุษยชน

๑.      ความหมายและความสำคัญของสิทธิมนุษยชน
               พระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้ให้ความหมายของสิทธิมนุษยชนว่า หมายถึง ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลที่ได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หรือตามกฎหมายไทย หรือสนธิสัญญาที่ประเทศไทยมีพันธะกรณีที่จะต้องปฏิบัติตาม
               สิทธิมนุษยชนจึงมีความสำคัญต่อประเทศและโลกเป็นอย่างมาก หากรัฐบาลปฏิบัติต่อประชาชนของตนและต่อชาวต่างชาติอย่างมีมนุษยธรรมตามสมควรแล้ว ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับประชาชนในประเทศ และความขัดแย้งระหว่างชาติก็จะไม่เกิดขึ้น
๒.    แนวคิดและหลักการของสิทธิมนุษยชน
บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน มีความก้าวหน้าและความเป็นสากลมากขึ้น หนึ่งมาจากการที่ประเทศไทยเป็นประเทศชั้นภาคีแนวหน้าขององค์การสหประชาชาติที่รับรองหลักการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่สมัชชาใหญ่ขององค์การ-สหประชาชาติได้ประกาศไว้ใน “ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ”  เพื่อเป็นแนวทางให้ประเทศสมาชิกใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติต่อพลเมืองของตนและชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศของตน
๓.    ความเป็นมาและสาระสำคัญของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ
๓.๑ ความเป็นมา
แนวคิดเกี่ยวกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเกิดขึ้นหลังจากสงครามโลกครั้งที่ ๒ สิ้นสุดลง เนื่องจากเหตุการณ์ดังกล่าวได้นำมาซึ่งความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของประเทศคู่สงครามอย่างมหาศาล
ภายหลังจากที่ได้มีการจัดตั้งองค์การสหประชาชาติขึ้น จึงได้มีการพยายาผลักดันให้เร่งกำหนดแนวทางการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนขึ้นมาคุ้มครองมนุษยชาติ
จนกระทั่งวันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๘๑ มีมติยอมรับและประกาศใช้ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติอย่างเป็นทางการและตามมาด้วยกติการะหว่างประเทศอีก ๒ ฉบับ คือ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม
๓.๒ สาระสำคัญ
               มีวัตถุประสงค์และหลักการทั่วไปเกี่ยวกับมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชน แต่ไม่มีพันธะผูกพันในแง่ของกฎหมายระหว่างประเทศ กล่าวได้ว่าถือเป็นเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่ช่วยในการวางรากฐานด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศฉบับแรกของโลก
               ปัจจุบันประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีพันธกรณีกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนจำนวน ๖ ฉบับ ได้แก่
·      อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
·      กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
·      กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
·      อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ
·      อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีทุกรูปแบบ
·      อนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านทรมานและการทารุณกรรม ตลอดจนการปฏิบัติหรือการลงโทษที่ลดทอนคุณค่าความเป็นมนุษย์
๔.     บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ตั้งแต่ปี ๒๔๙๒ – ๒๕๓๔ ได้นำเนื้อความแห่งปฏิญญาสากลปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมาบัญญัติรวมไว้ แต่สิทธิมนุษยชนเพิ่งจะถูกนำมาบัญญัติไว้เป็นครั้งแรกในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ๒๕๔๐ ในหมวดที่ ๖ รัฐสภา ส่วนที่ ๘ ว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มาตรา ๑๙๙ – ๒๐๐
๕.    บทบาทขององค์การระหว่างประเทศในเวทีโลกที่มีผลต่อประเทศไทย
องค์การระหว่างประเทศในเวทีโลกที่มีบทบาทด้านสิทธิมนุษยชนมีหลากหลายองค์กร แต่ที่สำคัญที่สุดและมีบทบาทต่อประเทศไทยในประเด็นสิทธิมนุษยชนมากที่สุด คือ สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ หรือ UNHCR เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ช่วยเหลือการกลับถิ่นฐานเดิมของผู้ลี้ภัย และยังปกป้อ สนับสนุนในกิจการที่เกี่ยวข้องกับผู้ลี้ภัยทั่วโลก รวมทั้งส่งผู้ลี้ภัยกลับประเทศต้นทางหรือประเทศที่สามเพื่อตั้งถิ่นฐานใหม่
๖.      ปัญหาสิทธิมนุษยชนในประเทศและแนวทางการแก้ไขปัญหาและพัฒนา
กฎหมายไทยได้มีมาตรการการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของปัจเจกชนในรูปแบบต่างๆ มานานนับจากประเทศไทยได้ให้ความเห็นชอบกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ หลังจากนั้นประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนอีกหมายฉบับด้วยกัน ยกตัวอย่างปัญหาสิทธิมนุษยชนที่เกดขึ้นในประเทศไทย ดังนี้
·      ปัญหาการละเมิดสิทธิแรงงานข้ามชาติ
อาชีพส่วนใหญ่ที่แรงงานเหล่านี้เข้ามาทำ คือ งานประมงทะเล ทำงานเกษตร เป็นต้น ประเทศไทยจึงพยายามควบคุมแรงงานดังกล่าวให้มีจำนวนจำกัด เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โดยกำหนดให้นายจ้างนำแรงงานต่างด้าวให้เข้าสู่ระบบการจ้างแรงงานที่ถูกต้องตามกฎหมาย
·      ปัญหาการละเมิดสิทธิเด็กและเยาวชน
 เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศไทยมาเป็นเวลานานและมีแนวโน้มขยายความรุนแรงมากขึ้นโดยจะเกิดในรูปแบบที่แตกต่างกันไป สามารถจำแนกได้พอสังเขป ดังนี้
๑.     เด็กที่ไม่ได้รับการบริการขั้นพื้นฐานจากรัฐ
๒.    เด็กที่ถูกปล่อยปละละเลยไม่ได้รับการเอาใจใส่จากครอบครัวเท่าที่ควร
๓.    เด็กที่ถูกทำร้ายร่างกายและจิตใจ ถูกทารุณ หรือล่วงละเมิดทางเพศจากบุคคลต่างๆ
แนวทางการแก้ไขปัญหา
๑.     อาศัยการประสานความร่วมมือของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน
๒.    รัฐควรมีนโยบายในการเผยแพร่ข้อมูลความรู้และจัดกิจกรรมด้านสิทธิเด็กแก่สังคมและสาธารณชน
๓.    สนับสนุนองค์กรพัฒนาเอกชนที่มีบทบาทในการพัฒนากลุ่มเด็กและเยาวชนที่ถูกละเมิดสิทธิ
๔.    ภาครัฐและเอกชนควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชนให้มากยิ่งขึ้น
๕.    ผู้ปกครองควรดูแลบุตรหลานอย่างใกล้ชิดและจะต้องจัดให้เด็กได้รับการพัฒนาด้านต่างๆ
·      ปัญหาการละเมิดสิทธิสตรี
มีสาเหตุมากจากการเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม หรือแรงงานหญิงถูกเลือกปฏิบัติจากนายจ้าง
         แนวทางการแก้ไขปัญหา
กระตุ้นให้คนในสังคมเรียนรู้หลักสิทธิมนุษยชนและเคารพในศักดิ์ศรีของสตรี ตระหนักถึงความเสมอภาคและเท่าเทียมกันในการทำงาน นอกจากนี้รัฐควรมีนโยบายหรือมาตรการพิเศษที่จะช่วยเอื้อให้เกดกาคุ้มครองสตรีอย่างจริงจัง
๗. อุปสรรคและการพัฒนาสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนส่วนใหญ่สะท้อนให้เห็นถึงสภาพความเป็นอยู่และความรู้สึกนึกคิดของคนในสังคมไทย เช่น การแบ่งชนชั้น การกดขี่แรงงาน ค่านิยมทางเพศ จนทำให้ปัญหาสิทธิมนุษยชนในประเทศไม่สามารถคลี่คลายลงไปได้
ดังนั้นการแก้ไขปัญหาเหล่านี้อาจจะคลี่คลายได้ในระดับหนึ่งด้วยการที่คนในสังคมต้องเรียนรู้ ตระหนักถึงหลักสิทธิมนุษยชน และเคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ให้มากยิ่งขึ้น และที่สำคัญคือต้องสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับเจ้าหน้าที่ภาครัฐทุกหน่วยงาน
๘. ข้อตกลงระหว่างประเทศ
·      ความหมายของข้อตกลงระหว่างประเทศ
๑.   เป็นความตกลงระหว่างรัฐหรือรัฐบาล คือ สนธิสัญญาเกิดจากความเห็นพ้องต้องกัน
๒.  ทำขึ้นตามกฎหมายระหว่างประเทศ
๓.  มุ่งให้เกิดผลผูกพันกรณีตามกฎหมายระหว่างประเทศ เช่น ก่อให้เกิดพันธกรณีที่ต้องส่งผู้ร้ายข้ามแดนแก่กัน
·      ความสำคัญของข้อตกลงระหว่างประเทศ
๑.   สามารถสร้างกฎเกณฑ์ใหม่ของกฎหมาให้ทันกับความต้องการได้
๒.  ทำให้เกิดการร่วมมือกันในกิจกรรมต่างๆ

๓.  ช่วยระงับข้อพิพาทที่มีต่อกัน โดยตกลงแลกเปลี่ยนผลประโยชน์กัน